การเก็บอาหารตู้เย็น เคยไหมกับการตกตะลึงกับกลิ่นพิศวงหลังจากเปิดตู้เย็น มันไม่รู้ว่าต้นตอมาจากไหน รู้แค่ว่ากลิ่นเหม็นเกินจะทนไหว ลองสังเกตดูให้ดีว่าเราเก็บวัตถุดิบที่มีกลิ่นแรงเอาไว้ในตู้เย็นบ้างหรือไม่ หากไม่มีอะไรเน่าเสียก็ต้องเป็นกลิ่นที่มาจากวัตถุดิบเหล่านี้นี่แหละ ตัวอย่างของสิ่งที่จะส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้แก่ กระเทียมปอกเปลือก หอมใหญ่ปอกเปลือก คื่นช่าย ชะอม เป็นต้น

หมดปัญหาสำหรับคุณแม่บ้านที่กำลังกังวลใจกับ การเก็บอาหารตู้เย็น ไม่ให้ส่งกลิ่น
เข้าใจว่าวัตถุดิบที่มีกลิ่นแรงบางอย่างก็มีรสชาติอร่อย และจำเป็นสำหรับการปรุงเมนูอาหารแบบไทยๆ แต่ถ้าเราซื้อมาแล้วใช้ไม่หมดในคราวเดียว ส่วนที่เหลือต้องเอาเข้าตู้เย็นอย่างถูกวิธี แล้วก็ต้องมีการดูแลหลังจากนั้นต่อไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักจะไม่ค่อยเป็นปัญหากับบ้านที่ทำครัวเป็นประจำ แต่ใครที่อยู่คอนโดหรืออยู่หอพัก มีการทำทานเองเป็นครั้งคราว บางส่วนของวัตถุดิบมันจะหมกหมมและมีกลิ่นที่รุนแรงยิ่งขึ้น แล้วก็ปล่อยอบอวลอยู่ภายในตู้เย็นนั่นเอง

วิธีแก้ไขให้เริ่มตั้งแต่ครั้งแรกที่เอาวัตถุดิบที่มีกลิ่นแรงเข้าตู้เย็น หากเป็นผักใบที่มีความเสี่ยงในการบอบช้ำได้ง่าย เช่น ชะอม กระถิน เป็นต้น ห้ามล้างน้ำก่อน ให้เก็บใส่ถุงที่ปิดมิดชิดไปทั้งอย่างนั้นเลย เวลาจะใช้งานค่อยล้างทีเดียว ผักจะไม่เน่าเสียและส่งกลิ่นเร็วกว่าเวลาอันควร เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ คือ ให้เอาผักใส่ถุงที่มีรูระบายอากาศก่อนชั้นหนึ่ง แล้วใส่ทับด้วยถุงมิดชิดอีกชั้นเพื่อกันกลิ่น

หากเป็นวัตถุดิบที่มีกลิ่นแรงประเภทหัว เช่น กระเทียม สะตอ เป็นต้น ทางที่ดีที่สุดคือไม่ต้องปอกเปลือก ของบางอย่างที่อยู่ได้โดยไม่ต้องแช่เย็นก็ไม่ควรแช่ ให้แขวนผึ่งในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกก็พอ แต่ถ้ามันจำเป็นต้องใส่ตู้เย็นจริงๆ ก็อย่าใส่รวมกันในปริมาณที่มากเกินไป ให้แบ่งใส่ถุงมัดแยกๆ กันไว้ แล้วจับรวมใส่กล่องหรือใส่ถุงใหญ่อีกทีหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปแล้วไม่ได้เอาออกมาทำอาหาร ก็ควรเอาออกมาระบายกลิ่นข้างนอกบ้าง อย่าปล่อยให้หมักหมมอยู่แต่ในตู้เย็น
หากคุณอยากพบเมนูที่แสนน่าทาน อย่าลืมกดติดตาม อาหารคลีน
เมนูอาหารแนะนำ วิธี การแปรรูปอาหาร ผักและผลไม้เพื่อถนอมและยืดอายุอาหาร
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนจาก ufa9999 สำหรับข่าวสารประโยชน์ของเมนูอาหารต่างๆ